Skip to main content

22 มิถุนายน 2024 มีการเดินขบวนเฉลิมฉลองเสรีภาพความหลากหลายทางเพศ รวมถึงในประเทศไทยเองที่เพิ่งผ่านร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมในสภาเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้บรรยากาศในงานลำปาง ไพรด์ 2024 เต็มไปด้วยสีสัน ทั้งยังมีกลุ่มคนที่หลากหลายทั้งเพศ วัย การแต่งกายและรสนิยมมาร่วมกันแสดงความยินดีกับกฎหมายนี้ รวมถึงแสดงความยินดีที่ในปัจจุบันเพศหลากหลายถูกมองว่าเท่าเทียมมากขึ้น





สิ่งที่น่าสนใจในงานเฉลิมฉลองเสรีภาพครั้งนี้คือขบวนพาเหรดที่รวมเอานักเรียน นักศึกษาจากเกือบทุกสถานศึกษาในจังหวัดลำปาง ได้ออกออกมาแสดงความสามารถที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นวงโยธวาทิต การเชิดสิงโต หรือการแต่งที่ที่ผสมผสาน “ธงรุ้ง” เข้ากับวัฒนธรรมดั้งเดิม เด็กๆ เชิดสิงโตตลอดเส้นทางสองกิโลเมตรด้วยความสนุกสนาน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมอายุน้อยที่สุดประมาณ 7 ขวบและมีกลุ่มคนที่มีอายุมากที่สุดประมาณ 60 ปี นับว่าเป็นการเดินขบวนที่ผสมทุกความหลากหลายเข้ามาอยู่ร่วมกัน

โดยในขบวนได้มีผู้เข้าร่วมจากกลุ่มกิจกรรมแอมเนสตี้แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เข้าร่วมในขบวนเพื่อนำเสนอประเด็นเรื่องสิทธิเสรีภาพและสิทธิมนุษยชน โดยมากับป้ายผ้าขนาดใหญ่ที่เขียนว่า “Trans rights are human rights ” (มีนักข่าวอย่างน้อย 107 คนถูกฆ่าในกาซา) หรือป้าย “สมรสเท่าเทียมผ่านแล้ว” และ “คนเท่ากัน” ซึ่งเป็นการแสดงความยินดีและความการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศให้กับผู้คนที่นั่งชมอยู่สองข้างทาง  ทั้งนี้ยังมีป้ายขนาดใหญ่จากกลุ่มสังคมนิยมแรงงานที่เขียนว่า “no pride in genocide Free Palestine” แสดงให้เห็นว่ายังมีกลุ่มคนอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่ได้รับสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกเนื่องจากกำลังถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 



ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง แม้ในงานจะเต็มไปด้วยองค์กรจากหน่วยงานรัฐหรือเอกชน แต่ขบวนลำปาง ไพรด์จัดลำดับขบวนให้ภาคประชาชนอยู่นำพรรคเพื่อไทย และปิดจบด้วยชบวนจากพรรคก้าวไกล หนึ่งในผู้เดินขบวนที่เดินนำหน้าพรรคเพื่อไทย ชูป้ายที่มีข้อความว่า “แก้รัฐธรรมนูญ ทุกหมวด/มาตรา กี่โมง…….” 
ภาพรวมของ “lampang pride 2024” ไม่ได้มีเพียงแต่การพูดถึงเรื่องเพศเท่านั้น แต่ยังว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ การปกครองของประเทศ แต่ก็ยังเน้นย้ำประเด็นของผู้มีความหลากหลาย จนเป็นขบวนที่สามารถสื่อสารประเด็นที่หลากหลาย เปิดพื้นที่ให้เยาวชนไ้ด้ร่วมเฉลิมฉลองและเรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศและประเด็นอื่นๆ ที่ยังถูกมองข้าม

เรื่องและภาพโดย อชิรญา บุญตา