Skip to main content

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563 คณะจุฬา หนึ่งในกลุ่มกิจกรรมจากรั้วจามจุรีจัดการชุมนุม #รัฐร้าวเราไม่ลืม ที่ลานสกายวอล์กหน้าหอศิลป์กรุงเทพเพื่อสื่อสารเรื่องความรุนแรงและวัฒนธรรมลอยนวลพ้นผิดในไทย รวมทั้งเพื่อประนามเหตุสลายการชุมนุมที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 ตามด้วยการดำเนินคดีและจับกุมคุมขังแกนนำในการชุมนุม

หนึ่งในไฮไลท์ของการชุมนุมนี้ได้แก่ Art performance ที่นักกิจกรรมส่วนหนึ่งไม่ต่ำกว่า 5 คน ริบบิ้นสีขาวเขียนข้อความแก้รัฐธรรมนูญมาพันมือไพล่หลังกับเก้าอี้รวมทั้งและมีหนึ่งหรือสองเส้นที่ถูกนำมาพันปาก ก่อนประกาศยุติการชุมนุมทางผู้จัดได้ประกาศให้ผู้ร่วมชุมนุมช่วยกันแก้ริบบิ้นปล่อยเพื่อนผู้ถูกพันธนาการและให้เก็บริบบิ้นกลับไปเป็นที่ระลึก 

มายมิ้น ศุกรียา วรรณายุวัฒน์ จากคณะจุฬาซึ่งเป็นผู้ร่วมจัดการชุมนุมนี้ระบุว่า  แรงบันดาลใจของกิจกรรมนี้มาจากกรณีที่ผู้สื่อข่าวของนักข่าวประชาไทยคนหนึ่งถูกจับตัวระหว่างปฏิบัติหน้าที่รายงานการชุมนุมเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2563 ซึ่งมีการสลายการชุมนุม หลังถูกจับตัวนักข่าวคนนั้นถูกจับมัดมือด้วยสายรัดเคเบิลอยู่บนรถควบคุมผู้ต้องหาเป็นเวลาราว 2 ชั่วโมงตั้งแต่ถูกจับกุมจนกระทั่งรถออกและถูกส่งตัวไปยังสถานที่ควบคุมตัว 

นอกจากกรณีของนักข่าวประชาไทเราก็คุยกันว่าประชาชนเองก็ถูกพันธนาการโดยรัฐ ถูกจำกัดเสรีภาพการแสดงออก การชุมนุมรวมทั้งการเดินทาง เราก็เลยคิดกันว่าจะจำลองเหตุการณ์ผู้สื่อข่าวประชาไทถูกจับกุมตัวเพื่อสื่อถึงการปิดกั้นเสรีภาพ ที่ไม่ใช่แค่เกิดกับนักข่าวคนนั้น แต่เกิดกับสังคมไทยในภาพรวมด้วย 

ตอนแรกทีมจัดงานต้องการสื่อสารทางตรงเอาสายรัดเคเบิลมาจำลองเหตุการณ์กับผู้ร่วมชุมนุมแต่ก็กลัวจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสังคมเลยเปลี่ยนจากสายรัดเคเบิลเป็นริบบิ้นแทน

ส่วนที่เลือกข้อความ "แก้รัฐธรรมนูญ" บนริบบิ้นคือเราต้องการสื่อว่าตอนนี้ในขบวนการประชาธิปไตยมันมีการพูดถึงข้อเรียกร้องในหลายๆประเด็น แต่สุดท้ายแล้วทางออกของทุกปัญหามันต้องเริ่มด้วยการแก้รัฐธรรมนูญ เราอยากให้คนได้เก็บโบว์นี้ไปใช้รณรงค์ต่อด้วย
   

ประเภท