Skip to main content

ป้ายไวนิลแยกราชประสงค์

ในอดีตพื้นที่ที่ถูกใช้จัดการชุมนุมขนาดใหญ่มักจะอยู่ในบรอเวณกรุงเทพชั้นใน อย่างบริเวณสนามหลวง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ หรืออนุสาวรีย์ประชาธิปไตยและถนนราชดำเนิน แต่ในปัจจุบันพื้นที่ใจกลางเมืองย่านธุรกิจเช่น ถนนสีลม สี่แยกอโศก - สุขุมวิทหรือสี่แยกราชประสงค์ก็ได้กลายเป็นจุดที่ถูกใช้จัดการชุมนุมด้วยเช่นกัน เช่น กลุ่มกปปส.ที่เคยชุมนุมบริเวณสี่แยกอโศกหรือกลุ่มนปช.ที่เคยจัดการชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์

เดือนพฤษภาคม 2553 กลุ่มนปช.จัดการชุมนุมที่สี่แยกราชประสงค์โดยมีข้อเรียกร้องคือให้รัฐบาลประชาธิปัตย์ของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิยุบสภาเพื่อเปิดให้มีการเลือกตั้งใหม่แต่รัฐบาลก็ตัดสินใจใช้กำลังเข้าสลายการชุมนุมจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

ป้ายสี่แยกราชประสงค์ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ทางการเมืองที่ถูกเชื่อมโยงกกลุ่มคนเสื้อแดงและเป็นจุดที่มักถูกใช้จัดกิจกรรมต่างๆ เชน ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2553 สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือบก.ลายจุด เคยทำกิจกรรมผูกผ้าแดงเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 https://prachatai.com/journal/2010/07/30289

ปรากฎว่าหลังจากนั้นในวันที่ 19 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันครบรอบ สองเดือนของการสลายการชุมนุม ก็มีรายงานว่าป้ายสี่แยกราชประสงค์ก็หายไป โดยผู้อำนาวยการสำนักงานเขตให้เหตุผลว่ามีคนพ่นข้อความไม่เหมาะสมลงบนป้ายจึงสั่งการให้เจ้าหน้าที่ถอดไปทำความสะอาด https://www.sanook.com/news/952869/

ในช่วงต้นปี 2561 มีข่าวผู้ลี้ภัยการเมืองสามคนนำโดยสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ อดีตผู้ต้องขังคดีมาตรา 112 และนักจัดรายการวิเคราะห์การเมืองทางอินเทอร์เน็ตและผู้ติดตามอีกสองคนหายตัวไปอย่างลึกลับจากบ้านพักที่ใช้ลี้ภัยในลาว จากนั้นจึงมีข่าวว่าพบศพชายนิรนามสองศพในแม่น้ำโขงซึ่งต่อมาพบว่าเป็นศพของผู้ติดตามสุรชัยทั้งแต่ไม่พบตัวหรือศพของสุรชัย https://prachatai.com/journal/2019/01/80805

หลังมีการยืนยันว่าดีเอ็นเอของศพตรงกับผู้ติดตามของสุรชัยทั้งสองคนกลุ่มนักกิจกรรมจึงประกาศจัดกิจกรรมไว้อาลัยที่แยกราชประสงค์ แต่ปรากฎว่าก่อนวันงานป้ายแยกราชประสงค์กลับหายไปและมีการนำกระถางต้นไม้มาวางไว้บริเวณที่ป้ายเคยติดตั้งอยู่ กรณีที่เกิดขึ้นทำให้มีนักกิจกรรมคนหนึ่งตัดสินใจทำป้ายไวนิลเป็นรูปป้ายแยกราชประสงค์ไปวางแทนป้ายของจริงที่ถูกเก็บเพื่อให้กิจกรรมสามารถเดินต่อไปได้

การนำกระถางต้นไม้มาวางล้อมสถานที่เป็นหนึ่งในวิธีการที่ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างอุปสรรค์ในการทำกิจกรรมโดยก่อนหน้านี้เคยมีการนำกระถางต้นไม้ไปวางไว้รอบพื้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยซึ่งเป็นสถานที่ที่มักถูกใช้จัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์จนคนที่ทำกิจกรรมไม่สามารถขึ้นไปทำกิจกรรมบนอนุสาวรีย์ได้

ภาพประกอบจากผู้ใช้เฟซบุ๊ก Ratana Visaikul

สิ่งจัดแสดงอนุเคราะห์โดยผู้ไม่ประสงค์ออกนาม

ประเภท