Skip to main content

เสื้อที่ไผ่จตุภัทร์สวมก่อนถูกจับกุมในวันนี้ มาจาก AMP-BKK พิพิธภัณฑ์เรามีอยู่ในคอลเลคชัน 1 ตัว 
ชวนอ่านเรื่องราวที่มาที่ไปของเสื้อตัวนี้


--------------------------------

อาจเป็นเพราะเสื้อยืดคือเสื้อที่สวมใส่สบาย และมีต้นทุนการผลิตที่ไม่สูงนัก การสกรีนเสื้อยืดด้วยสัญลักษณ์หรือข้อความในการรณรงค์ต่างๆ จึงเป็นหนึ่งในสิ่งที่อยู่คู่แวดวงการรณรงค์ทางสังคมและการเมืองมาอย่างช้านานไม่แพ้การทำป้ายผ้าเขียนข้อความรณรงค์ 

สิ่งที่ทำให้เสื้อยืดมีพลังมากกว่าป้ายรณรงค์รงค์น่าจะเป็นการที่เสื้อยืดเป็นสื่อรณรงค์ที่สามารถหยิบมาสวมใส่ได้ในทุกโอกาส ทำให้การรณรงค์หรือการประกาศจุดยืนต่อประเด็นบางอย่างเกิดขึ้นควบคู่กับการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างไม่เคอะเขินต่างจากป้ายผ้ารณรงค์ที่คงไม่มีคนนำมาถือหรือใช้ในชีวิตประจำวัน

เสื้อยืดที่มีข้อความหรือภาพรณรงค์รวมทั้งเสียดสีทางการเมืองเป็นสิ่งที่อาจถูกพบเห็นได้มากตามสถานที่ชุมนุมหรือสถานที่ที่ใช้ทำกิจกรรม บางครั้งอาจจะมีคนทำเสื้อลักษณะนี้ออกขายตามอินเทอร์เน็ตบ้าง 

คงมีน้อยคนที่จะจินตนาการว่าวันดีคืนดีจะเห็นเสื้อเสียดสีการเมืองขึ้นมาวางขายบนห้างคู่กับสินค้าแบรนด์เนม แต่หากมีโอกาสมาเดินชั้นสองห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว ร้าน A.M.P BKK. อาจทำให้คุณเห็นโลกในมุมที่อาจไม่เคยคาดคิด

ช็อปของ A.M.P BKK ตั้งอยู่ที่ชั้นสองในแผนก Department Store ของห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว มองเผินๆร้าน A.M.P.BKK ก็อาจดูเหมือนร้านขายเสื้อผ้าแนวพังสเตอร์หรือกหรือแนววัยรุ่นทั่วไปแต่หากสังเหตดีๆก็จะพบว่าลวดลายของเสื้อบางตัวเสียดสีการเมืองได้อย่างเจ็บแสบ 
เช่น เสื้อที่มีภาพรูปปั้นเทพหลายมือรูปร่าวอ้วนท้วมใบหน้าคล้ายพล.อ.ประวิตรสวมนาฬิกาหรู โดยมีมือข้างหนึ่งยกขึ้นปิดหน้าโดยที่นิ้วของเทพองค์นี้ก็สวมแหวนเม็ดโตไว้ด้วย

นอกจากนั้นก็มีเสื้อรูปชายหน้าคล้ายพล.อ.ประยุทธ์สวมชุดทหารครึ่งตัวกำลังยิ้มท่ามกลางกองโครงกระดูก โดยที่เหนือหัวของเขามีเรือเหาะของกองทัพบินอยู่ นอกจากเสื้อสองตัวนี้บนร้านก็ยังมีเสื้อเป็นภาพล้อผู้นำต่างประเทศเช่น โดนัลด์ ทรัมป์ คิม จอง อึน และวลาดิมีร์ ปูติน วาดด้วยสไตล์ที่เจ็บแสบไม่แพ้กัน  

ทางพิพิธภัณฑ์สะดุดใจแนวคิดการนำเสื้อล้อการเมืองขึ้นห้างจึงได้มีโอกาสสนทนากับคุณไผ่ เจ้าของแบรนด์ A.M.P BKK สั้นๆเพื่อสอบถามถึงที่มาที่ไปของแบรนด์และแนวคิดการทำเสื้อซึ่งคุณ
ไผ่ก็เล่าว่า

จริงๆแล้วแบรนด์ A.M.P. ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2546 แล้ว ตอนแรกก็ใช้ชื่อ A.M.P.เฉยๆ ซึ่งเป็นตัวอักษรที่มาจากชื่อของคุณไผ่และคุณเพชรผู้เป็นน้องชาย หลังจากตั้งแบรนด์มาได้สี่ถึงห้าปีจึงได้เติมตัวอักษร BKK ต่อท้ายชื่อแบรนด์เดิม

คุณไผ่เล่าต่อว่าในยุคที่เริ่มทำเสื้อขายใหม่ๆยังไม่ใช่ยุคที่อินเทอร์เน็ตเฟื่องฟูในเมืองไทยขณะที่เฟซบุ๊กก็ยังไม่มี พวกเขาจึงเริ่มขายเสื้อด้วยการเปิดหน้าร้านที่จตุจักร ด้วยความที่ทั้งคุณไผ่และคุณเพชรหลงไหลในในวัฒนธรรมแบบพังค์ สเก็ตบอร์ดและศิลปะแบบกราฟฟิตีลายเสื้อส่วนใหญ่ของเขาจึงออกแบบมาเพื่อเจาะกลุ่มผู้บริโภคเหล่านั้น ส่วนแรงบันดาลใจที่ทำให้ A.M.P.BKK เริ่มผลิตเสื้อล้อการเมือง คุณไผ่เล่าแบบตรงไปตรงมาว่า

"รัฐบาลก่อนหน้า คสช. เราไม่เคยทำเสื้อแนวนี้นะครับ เอาจริงๆเราก็ไม่ได้อินอะไรกับการเมืองมากนักจนกระทั่ง คสช. เข้ามาบริหารประเทศนี่ละครับ คือมันสร้างผมกระทบด้านเศษฐกิจอย่างเห็นได้ชัดมากน่ะครับ คนมันจะอดตายกันหมดแล้ว?"  

เมื่อทางพิพิธภัณฑ์ถามต่อว่าโดยปกติเสื้อยืดล้อการเมืองมักขายตามที่จัดกิจกรรมทางการเมืองต่างๆหรือเป็นการขายแบบออนไลน์ เพราะคนที่จะซื้อเสื้อลักษณะนี้มักเป็นกลุ่มเฉพาะ แต่การนำมาวางขายบนห้างซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะที่มีคนมาซื้อของอาจมีทั้งคนที่ชอบและไม่ลอบ "ลุงตู่" ไม่กังวลเรื่องการตลาดหรือกลัวเสียลูกค้าเพราะแบรนด์ดูมีความเป็น "การเมือง" โดยเฉพาะในยุคที่คนมีความเห็นท่างทางการเมืองอย่างชัดเจนแบบนี้บ้างหรือ คุณไผ่ก็ตอบว่า

"เราไม่ได้มองถึงตลาดหรืออะไรแบบนั่นเท่าไหร่ครับ แต่เรามองว่าเราอยากจะบอกอะไรกับคนในสังคมบ้างมากกว่า เราไม่ได้บอกว่าเราคิดถูกหรือผิด แต่เราแค่อยากสะกิดให้คนได้เห็นถึงปัญหาบ้างเท่านั่นเอง"

คุณไผ่ระบุด้วยว่าพอทางแบรนด์เริ่มจับเสื้อแนวล้อการเมืองแบบนี้ก็ต้องรับฟังเสียงบ่นจากลูกค้าเก่าๆอยู่บ้าง แต่ขณะเดียวกันมันก็ช่วยให้ทางแบรนด์เข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ มากขึ้นซึ่งอาจเป็นเพราะปัญหาทางเศรษฐกิจในยุคคสช.ทำให้คนรู้สึกว่าหาเงินยากขึ้น คนระดับบนในสังคมอาจไม่รู้สึกอะไรแต่คนชั้นกลางหรือคนระดับล่างนี่กระทบเต็มๆ

ขณะที่จากการสอบถามพนักงานหน้าร้านที่ห้างเซ็นทรัลเกี่ยวกับกระแสตอบรับก็ได้คำตอบว่าวันธรรมดาบางครั้งก็ขายเสื้อแนวล้อการเมืองออกวันละประมาณ 30 ตัว ส่วนวันเสาร์ อาทิตย์บางทีก็อาจได้ถึงห้าหกสิบตัวซึ่งถือว่าขายดีพอสมควร


เมื่อเป็นเช่นนั้นคนก็เริ่มตื่นตัวทางการเมืองมากขึ้น การทำเสื้อล้อการเมืองจึงเป็นที่สนใจของลูกค้ากลุ่มใหม่ๆขณะเดียวกันทางแบรนด์ก็ถือโอกาสสื่อสารปัญหาสู่สาธารณะชนในแนวทางที่พวกเขาพอจะทำได้


ขอขอบคุณภาพไผ่จาก ทะลุฟ้า - thalufah

หมายเหตุ ในขณะที่เผยแพร่บทความครั้งแรกบนเฟซบุ๊กเมื่อ 28 สิงหาคม 2562  ช็อป A.M.P.B.K.K ในห้างเซ็นทรัลลาดพร้าวยังมี แต่ในเดือนพฤศจิกายน 2564 ไม่มีช็อปที่เซ็นทรัลลาดพร้าวแล้ว